1. ค้นคว้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่
การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingencey Theory)
การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
Fred E.Fiedler (1967) ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
หลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
Ø ความแตกต่างระหว่างบุคคล
Ø ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
Ø ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
Ø ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
ข้อดีของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64) ได้สรุปข้อดีของการบริหารเชิงสถานการณ์ไว้ดังนี้
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือ แนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าว สามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไป เช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะ แม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตาม ผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อน การจะหาคำตอบใดๆ แบบให้
ง่ายๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอ และให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุด ทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือ แนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าว สามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไป เช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะ แม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตาม ผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อน การจะหาคำตอบใดๆ แบบให้
ง่ายๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอ และให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุด ทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ
ข้อเสียของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64) ได้สรุปข้อเสียของการบริหารเชิงสถานการณ์ ไว้ดังนี้
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆ ตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือ ในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมากๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่ แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ๆ หลักๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อม ภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรองๆ ลงมาทั้งหลาย
2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่นๆ นับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหาร คอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆ ตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือ ในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมากๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่ แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ๆ หลักๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อม ภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรองๆ ลงมาทั้งหลาย
2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่นๆ นับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหาร คอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
อ้างอิง :
อดิศร ก้อนคำ. 2552. แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach).
ครูบ้านนอกดอทคอม. แหล่งที่มา: http://www.kroobannok.com/20420. 28 สิงหาคม 2560.
พิริยะ อนุกุล. 2549. รวบรวมทฤษฎีการบริหารมาฝาก. GotoKnow. แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/63380. 28 สิงหาคม 2560.
วิเคราะห์ SWOT ขององค์กร(สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน)
จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) – การส่งเสริม สนับสนุนและการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอน อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) – ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน, ความหลากหลายของการพัฒนาสื่อทางเทคโนโลยี
โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) – การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงเทคโนโลยีของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน, การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) – การให้ความร่วมมือในการตอบรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ความรู้ความสามารถของบุคลากรทางเทคโนโลยี
2. ศึกษาองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงาน ECT หรือ ICT in education
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
อำนาจหน้าที่
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการเรียน การสอนการศึกษา
ขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงและเสมอภาค
2. วิจัยและพัฒนาต้นแบบการใช้สื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียน
การสอนให้สอดคล้องกับสภาพการพัฒนาของเทคโนโลยีและความพร้อมของบุคลากร
3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมและสนับสนุนการ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ติดตามและประเมินผล เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการใช้และการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ผู้เรียน สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกแห่งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอน การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัยอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
พันธกิจ
พันธกิจของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
1. ประสานแผนและนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับภาครัฐ ภาคเอกชนในระดับประเทศ กระทรวงและหน่วยงานกลาง เพื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษา
2. วิจัยและพัฒนาต้นแบบสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอน รูปแบบ วิธีการใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้น ฐานและหลักสูตรปฐมวัย
3. ผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรปฐมวัย
4. เผยแพร่ สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ วิจัยพัฒนา ผลิตและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
5. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีศูนย์สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และให้บริการแก่หน่วยงาน และสถานศึกษา
เป้าหมาย
เป้าหมายของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
1. ผู้เรียนในสถานศึกษาทุกคน สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
2. ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีความรู้ ทักษะ และสามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน
3. มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบและวิธีการใหม่ เพื่อใช้ในการจัดการเรียน การสอน และให้บริการทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกกลุ่มสาระการ เรียนรู้และทุกระดับชั้น
4. มีศูนย์สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ทุกเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้บริการแก่สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ มีเว็บไซด์เพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศ และเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
1. การประสานแผนและนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ประสานแผนและนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระหว่างสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักต่างๆ ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การนำแผนงาน นโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของกระทรวงศึกษาธิการไปใช้ในสถานศึกษาได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยมีสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นตัวเชื่อมโยง เครือข่ายกับหน่วยงานดังกล่าว รวมทั้งเป็นศูนย์รวมสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกระดับชั้น
2. การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ศึกษา รวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อใช้ในการเรียนการสอน สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัย ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาต้นแบบสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ความพร้อมของบุคลากร และมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรปฐมวัย ส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนในรูป แบบ วิธีการใหม่ให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดมาตรฐานรูปแบบ วิธีการของสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้อง และครอบคลุม มาตรฐานการศึกษา หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา
3. การผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิตและการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร ดำเนินการผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี และการสื่อสาร ตามสื่อต้นแบบ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการผลิต การใช้สื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบและวิธีการ ใหม่อย่างทั่วถึงและเสมอภาค กำหนดมาตรฐานและประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ผลิตเพื่อการ เรียนการสอนให้สอดคล้อง และครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้กับหน่วยงาน / เอกชน ให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนา
4. การสนับสนุน เผยแพร่และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี
ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียน ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอนจากแหล่งและวิธีการที่หลากหลายโดยการจัดให้มีการพัฒนา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์(e-Library) ฯลฯ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต
5. การกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และบุคลากรปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนับสนุนให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการ อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เพียงพอ
![](file:///C:/Users/ADMIN/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.png)
อ้างอิง :
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน. 2560. อำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://202.29.172.117/techno_z2/index.php?name=aboutus&file
=vision. วันที่สืบค้น 30 กรกฎาคม 2560.
3. ฝึก SWOT Analysis ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา องค์กรของตนเอง
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT)
กลุ่มงาน คอมพิวเตอร์
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี
จุดแข็ง (strengths)
1. มีชื่อเสียงด้านทักษะการแข่งหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ
2. มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
3. มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถทางด้านหุ่นยนต์(บุคลากรเดิม)
4. มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
5. มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
6. มีหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายให้นักเรียนได้เลือกเรียน
7. มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เป็นรากฐานในการขับเคลื่อนองค์กร
จุดอ่อน (Weaknesses)
1. บุคลากรส่วนมากที่เป็นครูบรรจุใหม่และย้ายมาจากองค์กรอื่นยังไม่มีความรู้และทักษะในด้านหุ่นยนต์เท่าที่ควร
2. การอนุมัติกรอบอัตรากำลังของสถานศึกษายังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
3. จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ
โอกาส (Opportunities)
1. สถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรเพิ่มพูนความรู้ โดยให้เข้ารับการอบรมอยู่เสมอ
2. ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรให้ความรู้
3. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สถาบันปัญญาภิวัฒน์ เป็นต้น
4. มีชมรมหุ่นยนต์เพื่อคัดเลือกและฝึกซ้อมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
5. มีการจัดส่งนักเรียนเข้าประกวด แข่งขันทักษะต่างๆอยู่เสมอเพื่อฝึกประสบการณ์ และเป็นการกระตุ้นให้บุคลากร และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
6. นักเรียนมีความพร้อมในด้านสถานภาพครอบครัว สติปัญญา ความรู้พื้นฐาน
อุปสรรค (Threats)
1. มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง
2. ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ เนื่องจากขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณของการเงินโรงเรียนไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
3. เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีกิจกรรมเยอะ ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้
ปัจจุบันหน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจในด้านทักษะหุ่นยนต์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดคู่แข่งที่มีความพร้อมในด้านเทคนิคและบุคลากรhttps://drive.google.com/file/d/11PoZ06zInEkrk4r6tCG9SXZBvhmgLIzk/view?usp=sharing
6. ฝึกเขียน Gantt Chart
https://drive.google.com/file/d/1EIxZ7pKSF4lY0H5AxhJJ0jXI86IHoXCe/view?usp=sharing
7. ค้นคว้าบทความวิชาการ/วิจัย/แนวคิดทางการบริหารจัดการงาน ECT
https://drive.google.com/file/d/1IRyCZvG97xs6UfwiIJESPeMKz193jZxR/view?usp=sharing
https://drive.google.com/file/d/1kC4dWyj38GeNhI0s7-9qsuk5xCc1FuKh/view?usp=sharing